การบินไทยจ่อเพิ่มทุนไตรมาส 2 ปีหน้า คาดเข้าซื้อ-ขายในตลาดหุ้นปลายปี 67
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (16 พฤษภาคม 2566) รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประชุม ครั้งที่ 1/66 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 66 สรุปดังนี้
ผลประกอบการและฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565 มีรายได้ 97,514 ล้านบาท ดีกว่าปี 2564 เพิ่มขึ้น341% จากการขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและไปรษณีย์ กำไรจากการดำเนินการ 11,207 ล้านบาท
ปิดฉาก “ไทยสมายล์” จ่อควบรวม “การบินไทย” สิ้นปี 66 โอนย้ายพนักงาน 800 คน
“บินไทย” ปี 65 พลิกขาดทุน 272 ล้านบาท สวนทางรายได้พุ่ง เหตุค่าใช้จ่ายสูง
อย่างไรก็ตาม งบการเงินรวมยังคงมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 252 ล้านบาท เนื่องจากผลประกอบการของบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ ขาดทุน 4,248 ล้านบาท แต่ดีกว่าประมาณการ ตามแผนฟื้นฟูกิจการฯ
ผลประกอบการปัจจุบัน ไตรมาส 1/2566 มีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารจำนวน 32,106 ล้านบาท อัตราบรรทุกผู้โดยสารของสายการบินไทยและไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ เฉลี่ย84%และ79.7% ตามลำดับ ปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารรวม 2.19 ล้านคน และ 1.33 ล้านคน ตามลำดับ เติบโตต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และนโยบายการเปิดประเทศของไทยและต่างประเทศ ปัจจุบันสถานะเงินสดคงเหลือ ณ วันที่ 2 พ.ค. 2566 จำนวน 45,988 ล้านบาท
ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปธุรกิจ สามารถลดต้นทุนดำเนินงานและเพิ่มรายได้ 64,400 ล้านบาทต่อปี ดีกว่าเป้าหมายที่กำหนด 58,000 ล้านบาทต่อปี
การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ
การปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบิน การบริหารโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบิน ประกอบด้วยกิจการการบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ ตามแนวทางที่ระบุในแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดทุนของไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ ที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2556 จำนวน 20,012 ล้านบาท และมีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ 18,166 ล้านบาท ซึ่งมีความเสี่ยงในการขาดสภาพคล่อง หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดังนั้น แนวทางการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ ควรดำเนินการ ดังนี้
- รับโอนอากาศยานแบบแอร์บัส 320 ที่ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ เช่าดำเนินการ 20 ลำ โดยจะทยอยรับโอนตั้งแต่เดือน พ.ค.-ธ.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2566 พร้อมปรับปรุงแผนธุรกิจของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ
- การรับโอนบุคลากร ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ เข้าเป็นพนักงานของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยพนักงานของ ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องโครงสร้างค่าตอบแทน สภาพการจ้าง และอายุงาน
- เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารเส้นทางการบิน ลดข้อจำกัดในการวางแผนเครือข่ายเส้นทางการบินให้เชื่อมต่อกัน การบริหารเวลาการบินและสิทธิการบินในเส้นทางการบินต่าง ๆ เช่น การจำหน่ายบัตรโดยสารในรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย เที่ยวบิน และการบริหารจัดการต้นทุน
การดำเนินการปรับโครงสร้างทุน แปลงหนี้เป็นทุนและการจัดสรรเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม ไม่จัดสรรและเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยจะดำเนินการ ดังนี้
- การใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของผู้สนับสนุนสินเชื่อใหม่เฉพาะผู้ให้สินเชื่อในรูปแบบสินเชื่อระยะยาวในจำนวนเดียวกับจำนวนหนี้สินเชื่อใหม่ที่เบิกใช้จริง หรือการเลือกชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้เงินต้นเดิมตามแผนเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 4,911 ล้านหุ้น ที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น
- การแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้เงินต้นคงค้างของเจ้าหนี้ กลุ่มที่ 4 (กระทรวงการคลัง) ในสัดส่วนร้อยละ 100 ของภาระหนี้เงินต้นคงค้าง (ประมาณ 12,827 ล้านบาท) จำนวน 5,040 ล้านหุ้น ที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น
- การแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้เงินต้นคงค้างของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 (เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่มีสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิในการได้รับเงินจากการขายอากาศยาน) เจ้าหนี้ กลุ่มที่ 6 (เจ้าหนี้สถาบันการเงินไม่มีประกัน) และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 18-31 (เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้) ในสัดส่วนร้อยละ 24.50 ของภาระหนี้เงินต้นคงค้าง (รวม 25,000 ล้านบาท) จำนวน 9,822 ล้านหุ้นที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น
- การใช้สิทธิแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4-6 และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 18-31 (ประมาณ 4,845 ล้านบาท) จำนวน 1,904 ล้านหุ้น ที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น
- การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน Preferential Public Offering (PPO) จำนวน 9,822 ล้านหุ้น ที่ราคาไม่ต่ำกว่า 2.5452 บาทต่อหุ้น
ทั้งนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน PPO ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2567 ซึ่งจะทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 28,685 ล้านบาท เพื่อให้สามารถกลับไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ภายในไตรมาส 4 ปี 2567
การปรับปรุงประสิทธิภาพฝูงบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ มีอากาศยานที่ใช้ทำการบินรวม 64 ลำ ซึ่งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการขออนุญาตจัดหาอากาศยานเพิ่มเติมโดยเช่าดำเนินงาน 13 ลำ และมีอากาศยานที่อยู่ระหว่างจัดหาตามแผนการจัดหาอากาศยานปี 2567-2568 อีกจำนวน 9 ลำ
การคงสถานะสายการบินแห่งชาติ เนื่องจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย83.93% ถือเป็นสัดส่วนการถือหุ้นที่มีความเหมาะสมสำหรับการกำหนดให้เป็นสายการบินแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจสำคัญต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ รวมถึงให้สามารถกลับเข้าร่วมในคณะกรรมการต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการการจัดสรรเวลาเข้า-ออก ของเที่ยวบิน คณะกรรมการของผู้แทนของรัฐบาลเพื่อพิจารณาจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ
การติดตามหนี้สินที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีสิทธิเรียกร้องและทุนทรัพย์สูง โดยธนาคารเจ้าหนี้ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงไทย โดยได้นำเงินฝากในบัญชีกองทุนบำเหน็จพนักงานการบินไทยหักกลบหนี้ตามมูลหนี้ ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีต่อธนาคาร
การบินไทย ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ คือ ขอกระทรวงการคลังให้การสนับสนุนการใช้สิทธิเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ สามารถดำเนินการจัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนไว้ตามแผนที่วางไว้และสามารถออกจาก แผนฟื้นฟูกิจการได้เร็วขึ้น
สนับสนุนให้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คงสถานะเป็นสายการบินแห่งชาติ โดยให้ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคมและ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หารือในรายละเอียดให้เกิดความเหมาะสมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป และให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงาน การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อนุญาตให้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รับอากาศยานที่จัดหา ตามแผนฟื้นฟูกิจการและตามแผนธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบแล้วเข้าประจำการในฝูงบินไม่ล่าช้า นายกรัฐมนตรีชื่นชมที่ รัฐบาลสามารถแก้ปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้อย่างคืบหน้าในระดับหนึ่ง ซึ่งขอให้เร่งรัดแก้ปัญหาให้เร็วขึ้น เพื่อให้ได้กลับคืนสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งฝากดูแลเจ้าหน้าที่พนักงานของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ไทยสมายล์แอร์เวย์ฯ ให้ได้รับความเป็นธรรมและสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมั่นใจ