Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • คนไทยขยันกู้! หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุดในรอบ 16 ปี ค่าครองชีพสูง-รายได้ลด

คนไทยขยันกู้! หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุดในรอบ 16 ปี ค่าครองชีพสูง-รายได้ลด

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยทั่วประเทศในปีนี้ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,350 ตัวอย่าง ว่า ผู้ตอบ 99.6% ระบุมีหนี้ มีเพียง 0.4% ที่ไม่มี โดยกลุ่มที่มีหนี้ มียอดหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงถึง 501,711 บาท สูงสุดในรอบ 16 ปี ผ่อนชำระเดือนละ 12,801 บาท โดยหนี้ครัวเรือนดังกล่าว เป็นหนี้ในระบบ 78.9% ซึ่งมีหลักประกันหนุนหลัง เช่น รถยนต์ โฉนดที่ดิน วางค้ำประกัน ถือเป็นเรื่องดีที่ไทยมีสินเชื่อในระบบให้กับประชาชนมากขึ้น ขณะที่หนี้นอกระบบมีเพียง 21% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

สำหรับประเภทของหนี้ครัวเรือน สัดสวนสูงถึง 56.4% เป็นหนี้ส่วนบุคคล เช่น การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค รองลงมา 54.4% เป็นหนี้จากบัตรเครดิต, 49.6% ยานพาหนะ, 49.2% ประกอบธุรกิจ, 37.5% การศึกษา และ35.7% ที่อยู่อาศัย ส่วนสาเหตุของการก่อหนี้มาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ผ่อนสินค้ามากเกินไป ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากไป และซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ตอบ 65.9% เคยผิดนัดการผ่อนชำระ เพราะรายได้ลดลง เศรษฐกิจไม่ดี และค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ จึงเสนอแนะภาครัฐ ให้จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ความรู้เรื่องการบริหารหนี้ ฝึกอบรมอาชีพเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ ฯลฯ ส่วนปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ยังไม่น่ากังวล เพราะสถาบันการเงิน ต่างตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ และการติดตามหนี้ในระบบ มีกระบวนการไกล่เกลี่ยตามกลไกปกติคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น เกิดจากค่าครองชีพสูง เศรษฐกิจไม่ดี สภาพคล่องในธุรกิจแย่ ทำให้ชักหน้าไม่ถึงหลัง หากเศรษฐกิจฟื้น หนี้ครัวเรือนจะลดลง อย่างไรก็ตาม แม้หนี้ต่อครัวเรือนในปีนี้จะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในระบบ สะท้อนได้ว่า คนไทยเข้าถึงสินเชื่อ หรือกู้ในระบบได้มากขึ้น เพราะมีทรัพย์สิน และถือเป็นเรื่องปกติที่คนชั้นกลางจะก่อหนี้เพื่อซื้อสินทรัพย์มากขึ้น”

นายธนวรรธน์ กล่าวต่อถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย ณ สิ้นปี 65 ที่คาดจะมีสัดส่วน 89.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ว่า ถือว่ามีอัตราสูง แต่ไม่น่ากังวล เพราะหนี้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในสถาบันรับฝากเงิน ที่มีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี หรือส่วนใหญ่เป็นหนี้อยู่ในระบบที่ใช้หลักทรัพย์เป็นประกันวงเงิน ไม่ใช่กู้เพื่อนำมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือมาจากการพนัน แต่ก็อาจทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเพิ่มการบริโภคภาคเอกชนทำได้ยากขึ้น และอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ไม่โดดเด่นนักคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนไทยเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 90.9% ของจีดีพี ในช่วงไตรมาส 1 ปี 64 ติดอันดับที่ 11 ประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนมากที่สุดในโลก จากผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงที่โควิด-19 โดยหนี้ครัวเรือนของไทยเริ่มสูงขึ้นแตะระดับ 80% ของจีดีพีนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 63 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดโควิด-19 และมีการล็อกดาวน์ ส่งผลทำให้จีดีพีไทยหดตัว และเติบโตอยู่ในระดับต่ำ

“สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยน่าจะผ่านจุดสูงสุดที่ 90.9% มาแล้ว และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเศรษฐกิจไทยฟื้น คาดว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีจะลดลงจาก 90% ในปัจจุบันมาอยู่ที่ 80% ได้ภายใน 5 ปีหากเศรษฐกิจไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้าขยายตัวในอัตราเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6.2% ต่อปี”